amalgam

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน

สาร Amalgam ที่ใช้เป็นวัสดุอุดฟัน มีผลกระทบต่อสุขภาพที่ควรทราบดังนี้

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 1

Amalgam มีส่วนผสมของปรอท ซึ่งเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษ การปลดปล่อยไอปรอทในปริมาณเล็กน้อยเมื่อเคี้ยวอาหารหรือแปรงฟัน สะสมอยู่ในร่างกายในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไป การสัมผัสปรอทในระยะยาวส่งผลต่อระบบประสาท 

โดยพิษของปรอทในเลือดส่งผลกระทบโดยตรงต่อเซลล์ในร่างกายมนุษย์หลายประการ นำไปสู่อาการทางคลินิกต่างๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณ และระยะเวลาการสัมผัสปรอท ซึ่งรวมถึงปัญหาระบบประสาท ไต และระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่

1.ทำลายเยื่อหุ้มเซลล์

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 2

ปรอทสามารถทำลายโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์ จึงส่งผลให้เซลล์สูญเสียความสามารถในการควบคุมสารเข้า-ออก

2.รบกวนการทำงานของเอนไซม์

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 3

ปรอทจับกับโปรตีนและเอนไซม์สำคัญในเซลล์ ทำให้เอนไซม์เสียสภาพและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

3.เพิ่ม Oxidative stress

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 4

กระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระในเซลล์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อ DNA, โปรตีน และไขมัน

4.รบกวนการสร้างพลังงาน

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 5

โดยส่งผลกระทบต่อไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ จึงทำให้เซลล์ขาดพลังงานในการทำงาน

5.กระทบต่อการสื่อสารระหว่างเซลล์

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 6

คือ ไปรบกวนการทำงานของตัวรับสัญญาณบนผิวเซลล์ ส่งผลต่อการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์

6.เหนี่ยวนำการตายของเซลล์ได้

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 7

ในระดับความเข้มข้นสูง ปรอทอาจกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์(apoptosis)

7.ปรอทสามารถสะสมในเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 8

โดยเฉพาะในสมองและไต การสะสมเป็นเวลานานอาจนำไปสู่ความเสียหายเรื้อรัง

8.กระทบต่อการแบ่งตัวของเซลล์

8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 9

รบกวนกระบวนการแบ่งเซลล์ปกติ อาจนำไปสู่ความผิดปกติในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

สรุป

สาร Amalgam ที่ใช้ในการอุดฟันมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะการปลดปล่อยไอปรอทที่สามารถสะสมในร่างกาย และส่งผลกระทบต่อระบบประสาท และการทำงานของเซลล์ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางคลินิกที่หลากหลาย และความเสียหายเรื้อรังในระยะยาว

เนื้อหาโดย
Picture of ผศ.(พิเศษ) ดร.พญ.สุนิสา ไทยจินดา (อจ.หมอหน่อย)

ผศ.(พิเศษ) ดร.พญ.สุนิสา ไทยจินดา (อจ.หมอหน่อย)

ว.11278
- แพทย์วุฒิบัตรตจวิทยา (ผิวหนัง)
- ปริญญาเอก สาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

สอบถามรายละเอียดจากคุณหมอเพิ่มเติม
8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 10
ทีมอาจารย์แพทย์ ธีรพร
ปรึกษาอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่เสียค่าใช้จ่าย
8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 11
8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 12
กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ
กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ
8 ผลกระทบจากสาร Amalgam ที่ใช้อุดฟัน 12
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ข่าวสาร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า