คอเหี่ยว

6 สาเหตุ คอเหี่ยวย่น พร้อมวิธีแก้

คอเหี่ยว คอย่น

ปัญหานี้มีลักษณะคือมีรอยย่น ริ้วรอย เหี่ยว บริเวณผิวหนังลำคอ ซึ่งบ่งบอกว่าอายุเริ่มมากแล้ว ทำเอาคนที่เคยมั่นใจในตัวเองต้องสูญเสียความมั่นใจไปเลยทีเดียว แต่ความหย่อนยานเหล่านี้ก็มีสาเหตุ และวิธีป้องกัน ซึ่งเราได้รวบรวมมาไว้แล้วในบทความนี้

คอย่น
อยากรู้อะไร คลิกอ่านตามหัวข้อได้เลย

เกิดจากอะไร

1.วัยที่เพิ่มมากขึ้น

เมื่ออายุย่างเข้า 30 อีลาสตินและคอลลาเจน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่น และเต่งตึงถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังบางลง หย่อนคล้อย และเกิดรอยพับได้ง่าย จุดที่สังเกตเห็นได้ง่ายที่สุดคือใบหน้า ที่จะเกิดริ้วรอยและจุดหย่อนคล้อยตามหางตา หน้าผาก หางคิ้ว แก้ม และมุมปาก ส่วนต่อมาที่ละเลยไม่ได้เลยคือคอ ที่จะเหี่ยวเป็นรอยย่นและหย่อนยานจนเป็นเหนียงที่คอ

2.จากแสงแดด

แสงแดดสามารถทำลายอีลาสติน และคอลลาเจนใต้ชั้นผิวหนังได้เช่นกัน จึงทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น ยิ่งไปกว่านั้น ผิวหนังที่คอยังบอบบางยิ่งกว่าผิวหน้า จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น และแห้งกร้านได้ง่ายกว่าผิวหน้า เพราะฉะนั้นจึงควรดูแลตัวเอง ทาครีมกันแดดบริเวณคอ และสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดคอ ไม่สวมเสื้อเปิดคอเปิดไหล่

3.นอนหมอนสูง

การนอนหมอนสูงเกินควร จะทำให้คอด้านหน้าพับลง จนเกิดรอยย่นที่ผิวหนังบริเวณลำคอ ยิ่งการนอนยาววันละ 6-8 ชั่วโมง และนอนซ้ำๆ ทุกวัน ยิ่งทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่น เกิดขึ้นอย่างถาวร ฉะนั้น เวลานอนจึงควรหนุนหมอนที่มีความสูงแต่พอดี เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเหี่ยวย่น ก่อนเวลาอันควร

4.ไม่ทาครีมบำรุงผิวบริเวณคอ

คนส่วนใหญ่มักทาครีมบำรุงหน้า แต่ละเลยที่จะทาครีมบำรุงบริเวณคอ ทั้งที่บริเวณคอนั้น ก็ต้องเจอกับแสงแดด ฝุ่น และมลภาวะ ไม่น้อยไปกว่าบริเวณหน้า ยิ่งไปกว่านั้น ผิวหนังบริเวณลำคอ ยังบางกว่าผิวหน้าอีกต่างหาก ทำให้คอย่น และหย่อนยานง่ายยิ่งกว่าผิวหน้า ดังนั้นเมื่อทาครีมบำรุงผิวหน้าแล้ว จึงไม่ควรลืมทาครีมบำรุงผิวบริเวณลำคอ ตั้งแต่ใบหู กราม คาง ลำคอ ไปจนถึงไหปลาร้า

5.ดูแลผิวไม่ดี

จุดหนึ่งที่ทุกคนลืมเวลาแต่งหน้า คือแต่งลำคอ เพื่อให้สีผิวทั้งหน้าและลำคอดูเข้ากัน หน้าจะได้ไม่โดดไม่ลอย เมื่อเวลาล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าออก ต้องไม่ลืมล้างเครื่องสำอางบริเวณคอออกด้วย มิฉะนั้นจะเกิดสิ่งสกปรกตกค้าง รูขุมขนอุดตัน ผลัดเซลล์ผิวได้ไม่ดี ทำให้เกิดสิวอุดตัน และอาการดังกล่าว

6.ไม่บริหารคอ

การก้มหน้าทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือ รวมถึงก้มหน้าอ่านหนังสือ จะทำให้เกิดรอยย่นอย่างถาวร จึงควรบริหารกล้ามเนื้อรอบคอ โดยการเงยหน้าค้างไว้ เพื่อให้ผิวหนังบริเวณคอด้านหน้าตึง ไม่เกิดอาการนี้

รอยย่นที่คอ
รอยย่นที่คอ

ทำไงดีถึงจะหาย

  1. ทาครีมบำรุง ครีมกันแดด บริเวณผิวหน้าและลำคอก่อนออกแดดเป็นประจำเพื่อป้องกันรังสียูวี ซึ่งเป็นตัวการทำลายคอลลาเจนและอิลาสตินใต้ชั้นผิว ส่งผลให้เกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวยืดหยุ่น ไม่หย่อนคล้อย รวมไปถึงรับประทานไขมันดี จะช่วยต้านอนุมูลอิสระให้ผิวมีความชุ่มชื่น
  3. ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาความชื่มชื่นให้กับผิว รวมทั้งรักษาสมดุลของฮอร์โมน ช่วยฟื้นฟูผิวพรรณได้เป็นอย่างดี

วิธีแก้คอเหี่ยวย่น แบบถาวร

วิธีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงวิธีการป้องกัน ไม่ให้ผิวหนังรอบคอหย่อนยานเท่านั้น แต่เมื่ออายุมากขึ้นหากไม่ดูแลตัวเองดีพอ ผิวคอก็จะเหี่ยวอยู่ดี วิธีการแก้ไขอย่างหนึ่ง ที่แก้ได้ผลเป็นอย่างยิ่งคือ การดึงคอ (Turkey Neck Lock) ซึ่งมีเทคนิคใดบ้าง

ดึงคอให้ตึง ด้วยเทคนิค NECK LOCK

มีเทคนิคใดบ้าง คลิกอ่านเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย

คลิกอ่านต่อ

客户感言

FAQ (คำถามที่พบบ่อย)

อายุที่เพิ่มมากขึ้น อีลาสตินและคอลลาเจนถูกทำลายจึงเป็นเหตุให้ผิวหนังห้อย หลวม และย้อยลงมา 

วิธีแก้ปัญหาคอเหี่ยวย่น 

  • ทาครีมบำรุง ครีมกันแดด 
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • 颈部轮廓

ศัลยกรรมดึงคอด้วยเทคนิค Neck-Lock

สรุป

ปัญหานี้ บ่งบอกถึงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้คนที่เคยมั่นใจ ต้องสูญเสียความมั่นใจไป แต่มีวิธีป้องกันเช่นการทาครีมบำรุง ครีมกันแดด และดื่มน้ำเพียงพอ เพื่อรักษาความชุ่มชื่นให้กับผิว และการดึงคอด้วยเทคนิค Turkey Neck Lock เป็นวิธีการแก้ไขที่มีผลดี ในการลดอาการนี้ได้

เนื้อหาโดย
Picture of หมอชัยยศ

หมอชัยยศ

นพ.ชัยยศ เด่นอริยะกูล ว.12095
- แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) ปี 2528 ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ปี 2534 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- Facial Plastic and Reconstructive Surgery ปี 2548​
- ศัลยแพทย์ชำนาญการ 39 ปี​
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ สำนักการแพทย์ สังกัดกรุงเทพมหานคร​

สอบถามรายละเอียดจากคุณหมอเพิ่มเติม
ปรึกษาอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ข่าวสาร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save