10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง

10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง

ไขมันหน้าท้อง ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

การปล่อยให้มีไขมันหน้าท้อง (Belly fat หรือ Visceral fat) โดยเฉพาะในผู้ชายที่ไม่อ้วน แต่มีหน้าท้องใหญ่ มีข้อเสียและอันตรายหลายประการ ดังนี้

ลงพุง

10 อันตรายของคนมีพุง

หากปล่อยไว้นาน และไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะมีผลกระทบตามมาดังนี้

1.โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์

แน่นอน เกิดการสะสม Inflammatory factor ที่สำคัญคือ interleukin 6 ที่ เพิ่มสูงขี้น มีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ microbiome. ในลำไส้ และ ระบบ Immune system ของ ร่างกาย รวมทั้ง brain chemistry ที่ผิดเพี้ยนโอกาส เกิด อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) ในบั้นปลาย (ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย)

2.โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ไขมันบริเวณหน้าท้อง ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มักเพิ่มโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2

3.โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ไขมันรอบอวัยวะภายใน กดทับหลอดเลือด ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ในการสูบฉีดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

4.โรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ จะส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือด ( MI)

5.โรคตับอักเสบและตับแข็ง

โรคตับแข็ง

ประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลง ไขมันสะสมในตับ อาจนำไปสู่โรคตับอักเสบ และตับแข็ง

6.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 1

ปัญหาระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

7.โรคมะเร็ง

10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 2

ผลกระทบต่อฮอร์โมน ไขมันหน้าท้องมากๆ พบว่า มี Aromatase enzyme ที่คอย เปลี่ยน testosterone ในผู้ชาย ให้เป็น estrogen เกิดภาวะ estrogen dominance ในผู้ชาย มีผลต่อสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก

8.ปวดหลังและข้อเข่าเสื่อม

โรคปวดหลังและข้อเข่าเสื่อม

ปัญหาข้อและกระดูก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นบริเวณหน้าท้อง สร้างแรงกดทับต่อข้อต่อ ทำให้เกิดอาการปวดหลังและข้อเข่าเสื่อม

9.เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า

10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 3

ผลกระทบทางจิตใจ:อาจส่งผลต่อความมั่นใจและภาพลักษณ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า

10.ส่งผลต่อการทำกิจกรรมประจำวัน

10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 4

ลดคุณภาพชีวิตโดยรวม จำกัดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว อาจส่งผลต่อการทำกิจกรรมประจำวัน

แก้ยังไง

การลดไขมันหน้าท้องด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย จึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเหล่านี้ ซึ่งสามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

ดูแลสุขภาพด้วย Epigenetic Changes

คืออะไร คลิกอ่านเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย

คลิกอ่านต่อ
10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 5
เนื้อหาโดย
Picture of ผศ.(พิเศษ) ดร.พญ.สุนิสา ไทยจินดา (อจ.หมอหน่อย)

ผศ.(พิเศษ) ดร.พญ.สุนิสา ไทยจินดา (อจ.หมอหน่อย)

ว.11278
- แพทย์วุฒิบัตรตจวิทยา (ผิวหนัง)
- ปริญญาเอก สาขาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

สอบถามรายละเอียดจากคุณหมอเพิ่มเติม
10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 6
ทีมอาจารย์แพทย์ ธีรพร
ផ្ដល់ការប្រឹក្សាពីសាស្ត្រាចារ្យពេទ្យជំនាញឯកទេស ឥតគិតថ្លៃ
10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 7
10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 8
กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ
กรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ
10 โรคร้ายจากภาวะลงพุง 8
ព័ត៌មាន

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save