ฮัมพ์จมูก คือ
ฮัมพ์จมูก คือ กระดูกที่นูนขึ้นบริเวณสันจมูก มีลักษณะคล้ายหลังอูฐ อาจมีมาก มีน้อย แตกต่างกันไป ซึ่งฮัมพ์นั้นอาจทำให้รูปทรงจมูกดูแข็งกระด้างได้ หากต้องการให้ใบหน้าดูอ่อนหวานมากขึ้น การตะไบฮัมพ์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาจุดนี้ได้
ตะไบฮัมพ์ เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีฮัมพ์มาก
อาจทำให้จมูกมีลักษณะโก่งงุ้มคล้ายจมูกแม่มด หรือทำให้ใบหน้าดูดุและไม่รับกับใบหน้าโดยรวมนัก
- ผู้ที่ต้องการកែសម្ផស្សច្រមុះด้วยซิลิโคน
หากต้องการเสริมความโด่ง ให้จมูกดูมีรูปทรงที่สวยมากขึ้น การปรับแต่งฮัมพ์ที่เกินออกมามากก่อนเสริมซิลิโคนนั้น เมื่อตะไบฮัมพ์แล้วจะสามารถวางซิลิโคนได้แนบชิดกับสันจมูกมากยิ่งขึ้น
- ผู้ที่มีดั้งจมูกโด่งอยู่แล้ว
หากมีดั้งจมูกโด่งและค่อนข้างพอใจในรูปทรงจมูกอยู่แล้ว แต่อยากแก้ไขบริเวณฮัมพ์ สามารถเลือกที่จะตะไบฮัมพ์ให้เป็นทรงสโลป เรียบเนียนโดยไม่ต้องเสริมซิลิโคนก็ได้
วิธีเหลาฮัมพ์จมูก
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวางยาชา
- ผ่าตัดโดยสอดมีดทำแนวเส้นผ่าตัดภายในโพรงจมูก
- ใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีลักษณะคล้ายสิ่ว ทิ่มไปยังบริเวณฮัมพ์
- ค่อยๆใช้ค้อน ตอกลงตามตำแหน่งที่มีฮัมพ์หรือกระดูกนูนขึ้นมา
- จนกว่าจะได้สันจมูกที่มีความเรียบเนียนเสมอกัน
- เมื่อทำการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการเย็บปิดรอยแผลด้วยไหม
- จากนั้นคลุมสันจมูกด้วยพลาสเตอร์หลายชั้นหรือเฝือกอ่อน เพื่อช่วยพยุงรูปทรงของจมูกเอาไว้ขณะพักฟื้น
วิธีดูแล
- ดูแลตัวเองตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
- ระวังไม่ให้แผลบริเวณผ่าตัดโดนน้ำ
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- นอนหนุนยกหัวให้สูงขึ้น
- หลังจากแผลบวมน้อยลงแล้ว ยังคงต้องทานยาตามแพทย์สั่ง
- ระวังไม่ให้แผลมีความชื้นจากน้ำ
- หากแผลมีอาการบวมนานกว่าปกติ มีเลือดออกในโพรงจมูกผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อป้องกันปัญหาแผลติดเชื้อ
ข้อควรระวัง
ก่อนเหลาฮัมพ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการให้มั่นใจก่อน ว่าจะไม่เกิดการตะไบกระดูกบริเวณฮัมพ์มากเกินไป หากตะไบมากเกินไป สามารถส่งผลเสียทำให้สันจมูกยุบตัว ผิดรูปไปจากเดิมได้ และอาจเกิดอาการปวดบริเวณแผลหลังผ่าตัดมากกว่าปกติได้อีกด้วย
ការបង្ហាញ
สรุป
ฮัมพ์ เป็นกระดูกที่นูนขึ้นบริเวณสันจมูก การตะไบฮัมพ์สามารถช่วยแก้ไขรูปทรงจมูก ให้ดูอ่อนหวานมากขึ้น และเหมาะกับผู้ที่ต้องการเสริมจมูกด้วยซิลิโคน หรือผู้ที่มีดั้งจมูกโด่งอยู่แล้ว วิธีเหลาฮัมพ์จมูกคือการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และควรระวังไม่ให้แผลบริเวณผ่าตัดโดนน้ำ และระวังไม่ให้แผลมีความชื้นจากน้ำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนเหลาฮัมพ์ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
เนื้อหาโดย
หมออ้อม
พญ.ปิยรัตน์ พูตระกูล ว.36825
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
- โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี
- Facial Plastic and Reconstructive Surgery
- ศัลยแพทย์ชำนาญการ 16 ปี