ชั้นตาไม่เท่ากัน
หนังตาไม่เท่ากัน ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เวลาแต่งหน้านาน แต่งหน้ายาก รู้สึกเสียความมั่นใจ เวลาส่องกระจกหรือถ่ายรูป เพราะยิ้มแล้วไม่เท่ากัน ดูหน้าเบี้ยว เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีหัตถการทางการแพทย์มากมาย ที่ช่วยแก้ไขตา ให้ดูสมดุลมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องผ่าตัด ใครที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่แล้ว อยากคืนความมั่นใจกลับมา ต้องอ่านบทความนี้ให้จบ!
8 สาเหตุชั้นตาไม่เท่ากันเกิดจากอะไร
ทำไมเปลือกตาไม่เท่ากัน
- เป็นโดยกำเนิดจากโครงสร้างกระดูกเบ้าตา ที่ไม่ได้เกิดจากการศัลยกรรม เช่น หนังตาตก ตาปรือ เป็นต้น
- จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ไขมันบริเวณเปลือกตาหายไป ทำให้เบ้าตาลึก ตาโหล หนังตาตก ผิวบริเวณรอบดวงตาหย่อนคล้อย
- จากโรคทางตา ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ ผิดปกติไป เช่น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด หนังตาตก เป็นต้น
- จากอุบัติเหตุที่กระทบบริเวณดวงตา ทำให้ไขมันบริเวณเปลือกตากระจายตัวไม่สม่ำเสมอ หรือมีโครงสร้างกระดูกเบ้าตา ที่ผิดไปจากปกติ
- จากการศัลยกรรมตาสองชั้น ซึ่งอาจเกิดจากการกะชั้นตา ผิดพลาด หรือมีการนำไขมันบริเวณเปลือกตาออกบางส่วน เพื่อเย็บให้เกิดชั้นพับตา
- จากใบหน้าทั้งสองด้านไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของกระดูกโครงหน้าแต่กำเนิด จนทำให้ใบหน้าดูไม่สมส่วน หรือหน้าเบี้ยว
- จากระดับคิ้วที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับของดวงตาอยู่ในตำแหน่งที่ ไม่เท่ากันตามไปด้วย
- จากการแสดงสีหน้า เพราะเมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อนาน ๆ ก็จะทำให้เกิดการเกร็ง และดึงรั้งจนทำให้ไม่เท่ากันได้ เช่น การเลิกคิ้ว เลิกหน้าผาก เป็นต้น
อาการ
- ยิ้มแล้วไม่เท่ากัน
- ระดับตาไม่เท่ากัน
- ดวงตาไม่เท่ากัน
- ถ่ายรูปแล้วไม่เท่ากัน
วิธีแก้
การแก้ไขปัญหา สามารถแก้ไขได้หลายวิธี ซึ่งเราควรต้องดูว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เพื่อที่จะได้ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด ซึ่งมีทั้งการแก้ไขชั้นตาด้วยการผ่าตัด และไม่ผ่าตัด
แก้ยังไง
- ทำตาสองชั้น
การศัลยกรรมตาสองชั้น เป็นการผ่าตัดสร้างชั้นตาขึ้นมาใหม่ และช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างเห็นผล สำหรับศัลยกรรมตาสองชั้น (Lucky Eyes) ที่สถาบันศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า ธีรพร จะใช้เทคนิค Less is More เทคนิคเฉพาะที่คิดค้น และพัฒนามามากกว่า 40 ปี โดยจะเป็นวิธีผ่าตัดแบบเจาะรูขนาดเล็ก กรีดสั้น และผสานศาสตร์ของโหงวเฮ้งร่วมด้วย - ร้อยไหม
การร้อยไหมแก้ปัญหานั้น มีหลากหลายชื่อ เช่น Foxy Eyes โดยจะเป็นการสอดไหมละลาย หรือไหมเงี่ยง ที่มีตะขอเกี่ยวลงในชั้นผิวหนัง เพื่อดึงยกเนื้อเยื่อบริเวณหางตา ให้ยกขึ้นตาแนวเส้นไหม ทำให้หางตาหางคิ้ว ดูยกขึ้น และสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างเห็นผล โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ผลลัพธ์นั้นจะอยู่ได้ชั่วคราวเท่านั้น - ฉีดฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์เพื่อแก้ปัญหา จะเป็นการฉีดสารไฮยาลูรอนิก แอซิด เข้าไปบริเวณเปลือกตาบน เพื่อทดแทนไขมัน และตกแต่งชั้นตาให้ดูชัดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีแก้ไขที่ตรงจุด เห็นผลลัพธ์ทันทีและดูเป็นธรรมชาติ โดยที่ทีมอาจารย์แพทย์ธีรพร จะประเมินปัญหา และพิจารณาเลือกยี่ห้อที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล
แบบไม่ผ่าตัด
- การฉีดด้วย โบท็อก เข้าบริเวณกล้ามเนื้อหน้าผาก
- การทำอัลเทอร่าตา ยกกระชับหางตา
- การฉีดฟิลเลอร์
- ไม่แนะนำให้ใช้ วาสลีน ในการแก้ปัญหา
แบบผ่าตัด
- การผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา
- การผ่าตัดทำตาสองชั้น
- การผ่าตัดด้วยเทคนิคเย็บชั้นตาใหม่แบบแผลเล็ก
การผ่าตัดแก้ไข
ก่อนทำการผ่าตัด
- ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัด จะวิเคราะห์และพูดคุย เพื่อรับฟังความต้องการและปัญหาของคนไข้
- ทำการประเมินออกแบบชั้นตาตอบโจทย์เฉพาะบุคคล
- คนไข้ทำความสะอาดใบหน้าและเข้าห้องผ่าตัด
การผ่าตัด
- ทีมแพทย์จะเริ่มทำการผ่าตัดด้วยการฉีดยาชาบริเวณชั้นตา
- ผ่าตัดโดยการกรีดสั้นประมาณ 5-10 มิลลิเมตร บริเวณกึ่งกลางของเปลือกตา (หากคนไข้มีปัญหาไขมันบนหนังตาเยอะก็จะทำการดูดออก)
- เย็บชั้นตาขึ้น ประกบกัน เพื่อสร้างชั้นตาให้ดูชัดเจนโดยเป็นธรรมชาติ ทำให้ไม่ทิ้งรอยแผลเป็น และแผลมีขนาดเล็กมาก
**เทคนิคการผ่าตัดตาสองชั้นขึ้นอยู่กับสภาพชั้นตาในแต่ละบุคคล
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
การรักษามีกี่แบบ
มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
- แบบไม่ผ่าตัด จะรักษาด้วยการฉีดยา ทำอัลเทอร่า หรือไม่ก็ฉีดฟิลเลอร์
- แบบผ่าตัด ผ่าตัดปรับกล้ามเนื้อตา ด้วยเทคนิคการทำตาสองชั้นของธีรพรคลินิก
การรักษาเจ็บไหม
ด้วยเทคนิคของธีรพร เราจะทำการผ่าตัดโดยใช้เวลาไม่นาน แผลเล็ก และเห็นผลทันทีหลังผ่าตัด
ราคาเท่าไหร่
คลิกที่ปุ่มด้านล่าง เพื่อสอบถามราคา
รีวิว
สรุป
แม้ว่าปัญหานี้ จะไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรง แต่ก็ทำให้ผู้ที่มีปัญหานี้ สูญเสียความมั่นใจในตัวเองไปได้ไม่น้อย สำหรับคนที่ต้องการแก้ไขปัญหา สามารถศึกษาวิธีที่เรารวบรวมมาข้างต้น หรือจะเข้ามาสอบถามวิธีที่เหมาะสม และตอบโจทย์กับปัญหารูปตาของคุณ กับสถาบันศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า ธีรพร ก็ได้เช่นกัน
เนื้อหาโดย
หมอนุ้ย
พญ.จุติมา พัตรลิดานนท์
ว.35273
- แพทยศาสตร์บัณฑิต ปี 2550 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปี 2556 จักษุวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จักษุแพทย์จุฬา (ต้อหิน) ปี 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย