หนังตาหย่อนเกิดจากอะไร
หนังตาหย่อน หรือ Dermatochalasis เกิดจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อ ที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น แต่ก็อาจพบได้เร็วขึ้น ในผู้ป่วยที่ขยี้ตาบ่อย ๆ โดนแดดจัด สะสมเป็นเวลานาน หรือมีการอักเสบรอบดวงตา
อาการเป็นอย่างไร
อาการจะเริ่มจากที่ผิวหนังเปลือกตา หรือผิวหนังหน้าผาก มีความยืดตัวมาก จนหย่อนมายังลูกตา จะรู้สึกหนักตา ต้องพยายามเบิ่งตาตลอดเวลา ลืมตาไม่ค่อยขึ้น หากมีรอยพับของผิวหนังที่บริเวณหางตา จะเกิดความระคายเคือง เวลาน้ำตาไหลหรือเหงื่อออกได้ด้วย
วิธีแก้ไขทำไงดี
ในกรณีที่หนังหย่อนลงมามาก จนบดบังการมองเห็น จะต้องทำการผ่าตัดผิวหนัง และไขมันที่เป็นส่วนเกินออก การผ่าตัดก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับแพทย์ว่า วางแผนการรักษาอย่างไรบ้าง เช่น ผ่าตัดเหนือคิ้ว ผ่าตัดที่ชั้นตาเดิม หรือใต้คิ้ว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผิวหนัง ที่หย่อนลงมา
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด เพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการผ่าตัดมากที่สุด
- ก่อนผ่าตัดควรงด อาหารเสริมทุกชนิด ที่มีผลต่อการแข็งตัวของหลอดเลือด โดยเฉพาะวิตามิน C, วิตามิน E, น้ำมันตับปลา
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง รวมถึงลดการสูบบุหรี่
- พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนทำการผ่าตัด
- วันผ่าตัดไม่ควรแต่งหน้า และแนะนำว่าควรสระผมล่วงหน้า ก่อนถึงวันผ่าตัด เนื่องจากเมื่อผ่าตัดเสร็จห้ามแผลโดนน้ำ
- ควรแจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว และประวัติการผ่าตัด ให้แพทย์ทราบก่อนผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
การดูแลหลังทำการผ่าตัดที่ดีนั้น จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และยุบเข้าที่ได้ดีขึ้น ซึ่งวิธีการดูแลหลังผ่าตัดมีดังนี้
- ควรประคบเย็นบริเวณรอบๆ ดวงตาหลังจากการผ่าตัด
- นอนยกศีรษะสูงๆ เพื่อช่วยลดอาการบวมได้เร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า
- ระวังไม่ให้ขยี้ตา หรือจับตาจนแผลจนจะหาย
- งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์หลังผ่าตัดอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
- ทำการล้างแผล และดูแลแผลให้สะอาดอย่างเคร่งครัด
- งดการทานของหมักดอง อาหารทะเล อาหารรสจัด อาหารย่อยยาก
- ควรเปลี่ยนไปใส่แว่น แทนการใส่คอนแทคเลนส์ในระยะแรกหลังผ่าตัด
客户感言
สรุป
หนังตาหย่อนเกิดจาก ความเสื่อมของเนื้อเยื่อ ที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และอาการจะเริ่มจากที่ผิวหนังเปลือกตา หรือผิวหนังหน้าผาก มีความยืดตัวมาก จนหย่อนมายังลูกตา และในกรณีที่หนังหย่อนลงมามาก จนบดบังการมองเห็น จะต้องทำการผ่าตัดผิวหนัง และไขมันที่เป็นส่วนเกินออก โดยการผ่าตัดมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับแพทย์ว่า วางแผนการรักษาอย่างไรบ้าง เช่น ผ่าตัดเหนือคิ้ว ผ่าตัดที่ชั้นตาเดิม หรือใต้คิ้ว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของผิวหนังที่หย่อนลงมา
เนื้อหาโดย
หมอนัตตี้
ผศ.พญ.ศริญญา อุราธรรมกุล
ว.34407
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- โสต ศอ นาสิกวิทยา รพ.พระมงกุฎเกล้า
- The International Board for Certification in Facial Plastic and Reconstructive Surgery รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- ศัลยแพทย์