สถาบันที่ให้บริการผ่าตัด ฟื้นฟู และ ดูแลใบหน้าอย่างครบวงจรเพื่อความสวยงามอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพในระดับสากล
ให้การดูแลและรักษาด้วยความเป็นมืออาชีพทั้งคนไทยและต่างชาติ ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลและรักษาเพื่อต่อยอดด้านผลิตภัณฑ์ และ วิชาการรวมถึงการนำไปใช้บริการแก่สังคม รวมกับการพัฒนา Consumer product ที่สามารถจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆได้ในมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความงามบนใบหน้า
สารประธานกรรมการบริษัท
ถึงแม้ว่าการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หลังจากสถานการณ์โรคติดต่อ COVID-19 ได้เริ่มคลี่คลายลง แต่การกลับคืนมาของเศรษฐกิจทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งสงครามทั้งในยุโรปและตะวันออกกลาง ทำให้ธุรกิจโดยรวมเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ และไม่เติบโตตามแผนงานที่คาดไว้ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้เป็นความท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้บริษัทฯสามารถดำเนินธุรกิจให้เติบโตได้อย่างดีที่สุด
ขณะเดียวกันบริษัทฯยังตระหนักถึงหลักการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืน เป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยกำหนดให้มีนโยบายด้านความยั่งยืน เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance: ESG) และเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) อีกทั้งบริษัทมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ภายใต้หลักพื้นฐานทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สุดท้ายนี้คณะกรรมการ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ผู้ใช้บริการ และพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ได้ให้การสนับสนุน ความเชื่อมั่น และไว้วางใจ ตลอดจนให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ของบริษัท คณะผู้บริหารขอให้คำมั่นว่าจะดำเนินธุรกิจด้วยความรอบคอบ รัดกุม โปร่งใส และมีธรรมาภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
(ศ.คลินิก นพ. อภิชาติ ศิวยาธร)
ประธานกรรมการบริษัท เอสเตติก คอนเนค จำกัด (มหาชน)
รายนาม | ตำแหน่ง | |
1 | ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อภิชาติ ศิวยาธร | ประธานกรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ |
2 | นายสมบูรณ์ วงศ์รัศมี | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ |
3 | นายเกริกชัย ชัยธรรม | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ |
4 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชลธิศ สินรัชตานันท์ | กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ |
5 | นาวาโทหญิงแพทย์หญิงสุวรรณี จิรยั่งยืน ร.น. | กรรมการบริษัท |
6 | นายจักรชลัช สินรัชตานันท์ | กรรมการบริษัท |
7 | นายแพทย์ชัยยศ เด่นอริยะกูล | กรรมการบริษัท |
8 | นายแพทย์พลพงศ์ ชยางศุ | กรรมการบริษัท |
9 | นายแพทย์คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล | กรรมการบริษัท |
รายนาม | ตำแหน่ง | |
1 | ผศ.นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ | ประธานกรรมการบริหาร / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
2 | นพ.ชัยยศ เด่นอริยะกูล | กรรมการบริหาร / รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
3 | นพ.พลพงศ์ ชยางศุ | กรรมการบริหาร / รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร |
4 | น.ท.หญิง พญ.สุวรรณี จิรยั่งยืน ร.น. | กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร |
5 | นพ.คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล | กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ |
6 | นางดารณี ทับแก่น | กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน (CFO) |
7 | นายจักรชลัช สินรัชตานันท์ | กรรมการบริหาร / ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด |
ลำดับที่ | ชื่อผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้น | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | บริษัทสานฝันโฮลดิ้ง จำกัด | 118,800,000 | 33.94% |
2 | น.ท.หญิง สุวรรณี จิรยั่งยืน ร.น. | 80,000,000 | 22.86% |
3 | นาย ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา | 11,896,600 | 3.40% |
4 | นายกฤตภาส จิรยั่งยืน | 11,887,000 | 3.40% |
5 | นายศุภกร จิรยั่งยืน | 8,015,000 | 2.29% |
6 | นาย พะเนียง พงษธา | 6,604,200 | 1.89% |
7 | นาย สถาพร งามเรืองพงศ์ | 4,200,000 | 1.20% |
8 | น.ส. นวันวัจน์ โตเจริญนิวัติศัย | 3,755,000 | 1.07% |
9 | น.ส. จุติมา พัตรลิดานนท์ | 3,794,000 | 1.03% |
10 | นาย มนต์สรร อัศวนพเกียรติ | 3,500,000 | 1.00% |
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บริษัทมหาชน) ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติอนุมัตินโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนแก่ธุรกิจ ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้บริษัทยังมุ่นมั่นที่จะดำเนินงานบนพื้นฐานของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทั้งต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและสร้างประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ ซึ่งความตั้งใจดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานมุ่งสู้ความยั่งยืนในระดับบริษัท โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
กลยุทธ์และเป้าหมายด้านความยั่งยืน
บริษัทมีนโยบายในการปลูกฝังทัศนคติและสร้างวัฒนกรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน จนถือเสมือนเป็นภารกิจหลักที่จะสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและชุมชน จึงได้กำหนดให้มีนโยบายด้านความยั่งยืน เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance: ESG) พร้อมๆ กับการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศและสังคม
คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้กำกับดูแลให้ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมีแนวทางกำกับดูแลดังต่อไปนี้
กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
กิจกรรมหลักประกอบด้วย 5 กิจกรรมตามแผนภาพด้านล่าง ซึ่งเชื่อมโยงกันตามภาพรวมการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทมีแนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจทั้ง 5 กิจกรรม ดังนี้
1. การจัดซื้อจัดหาจัดจ้างกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
สำหรับกิจกรรมสนับสนุนของบริษัท ประกอบด้วยกิจกรรม 4 กิจกรรม ได้แก่
ถือได้ว่าในธุรกิจของบริษัท ทรัพยากรบุคคล เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกรรมต่างๆ ของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงได้ให้ความสำคัญตั้งแต่การจัดจ้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ การบริหารค่าตอบแทนที่สามารถแข่งขัน สามารถจูงใจพนักงานได้ การส่งเสริมให้พนักงานได้รับการอบรมพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งให้โอกาสในการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพ การดูแลเอาใจใส่ และการสร้างขวัญกำลังใจ เป็นอย่างดี เพื่อให้พนักงานเกิดความรัก ความผูกพันกับบริษัท และทุ่มเทสร้างสรรค์พัฒนา การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการบริษัทมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้มีนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. การจัดซื้อจัดจ้างบริษัทยึดหลักในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงจริยธรรมทางการค้า ความโปร่งใส เป็นธรรมต่อคู่ค้า รวมถึงรักษาและสืบสานความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า และปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการค้าที่มีต่อคู่ค้า โดยบริษัทได้จัดให้มีคำสั่งว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องมีการวางแผนกิจกรรมการจัดซื้อ โดยจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณประจำปีนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท และเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว หน่วยงานที่ขอจัดซื้อจัดจ้างต้องจัดทำใบขอซื้อที่สอดคล้องกับแผนงานและงบประมาณนำเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามวงเงินอนุมัติที่กำหนด จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง อีกทั้งบริษัทจะไม่ทำธุรกรรมใด ๆ กับคู่ค้าที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นอกจากนี้ บริษัทยังประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี ไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อทำลายคู่ค้าหรือคู่แข่ง
4. โครงสร้างพื้นฐานบริษัทได้ดูแล พัฒนา ปรับปรุงระบบงานสำคัญ ๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบการประเมินทางการแพทย์ ระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ระบบข้อมูลในการบริหาร ระบบบริหารความเสี่ยง ระบบข้อมูลของลูกค้า ระบบบัญชีและการเงิน ระบบข้อมูลการบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบการสื่อสารทั้งภายในบริษัท และกับผู้รับบริการ เป็นต้น
2.2 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจบริษัทได้มีการพิจารณาวิเคราะห์และประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียใน (Value Chain) อย่างรอบด้านเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อุปทาน โดยสรุปได้ดังนี้
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย |
ช่องทางการมีส่วนร่วม |
ความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้เสีย |
การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย |
ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร | |||
ผู้ถือหุ้น / นักลงทุน / นักวิเคราะห์ | – การจัดประชุมผู้ถือหุ้น – การนำเสนอผลการดำเนินงานรายไตรมาส – การประชุมนักวิเคราะห์การเงิน – กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน – การเชิญนักลงทุนเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ | – ผลตอบแทนที่ดี – การกำกับดูแลกิจการที่ดี – กิจการมีความมั่นคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง – ข้อมูลที่ได้รับถูกต้อง ครบถ้วน ทันเหตุการณ์ โปร่งใส – มีระบบการบริหารความเสี่ยง – มีระบบตรวจสอบและควบคุมที่ดี | – กำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ – จ่ายเงินปันผลอย่างเหมาะสม – เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส – จัดทำแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ – บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ |
พนักงาน | – สื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางการสื่อสาร และมีความถี่ตามความเหมาะสม – การประเมินความพึงพอใจของพนักงาน – การรับฟังความคิดและข้อเสนอ แนะผ่านช่องทางต่างๆ | – ผลตอบแทนที่ดี มีโอกาสที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน รวมถึงความมั่นคงของบริษัท – สภาพแวดล้อมและพื้นที่เหมาะสมต่อการทำงาน – มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน – มีสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน | – การอบรมและส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาทักษะและความรู้อย่างต่อเนื่อง – การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและพนักงาน – การกำหนดนโยบายและแผนงานด้านการพัฒนาบุคลากร – กําหนดแนวทาง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการปฏิบัติงาน |
ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร | |||
ลูกค้า/ ผู้รับบริการ | – การเข้าพบลูกค้า – ประสานงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน – การแจ้งค่าบริการล่วงหน้าอย่างครบถ้วน ก่อนการทำหัตถการ – การสำรวจความพึงพอใจลูกค้า – การทำกิจกรรมร่วมกับลูกค้า | – ได้รับข้อมูลของการบริการอย่างถูกต้อง – ค่าบริการมีความเหมาะสม – การแข่งขันของราคามีความโปร่งใส – ได้รับบริการที่มีคุณภาพ – สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว – รักษาความลับของข้อมูลลูกค้า | – กำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ – มีนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น – มีจรรยาบรรณในการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้า – พัฒนาการให้บริการให้มีคุณภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า – การกวดขันเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้า |
คู่ค้า | – การทำสัญญาการซื้อขายสินค้าและบริการที่ชัดเจน – การประเมินความพึงพอใจของคู่ค้า – การทำกิจกรรมร่วมกับคู่ค้า | – การปฏิบัติตามสัญญาและข้อตกลงร่วมกัน – ดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเท่าเทียม – รักษาความลับของข้อมูลคู่ค้า | – เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง – การกวดขันเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลคู่ค้า |
สังคมและชุมชน | – การรับฟังความคิด และข้อเสนอแนะผ่านช่องทางต่างๆ ของบริษัท | – ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อสังคมชุมชนโดยรอบ – มีความปลอดภัยในการให้บริการตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด – ร่วมพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ และรายได้ เพื่อสร้างความมั่นคงสำหรับคนในชุมชนโดยรอบ | – ปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงาน – เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ และลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทยึดถือนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกอันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นในการร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยบริษัทให้คำมั่นว่าจะดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงจะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด โดย ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการบริษัทได้มีการอนุมัติใช้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) เพื่อประโยชน์ร่วมกันของพนักงานทุกระดับในองค์กรรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้บริษัทได้มีการกำหนดเป้าหมายลดค่า Carbon Intensity ลง 10% จากปีฐาน
ในปี 2564 บริษัทมีการจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเป็นครั้งแรกเพื่อใช้สำหรับเป็นข้อมูลปีฐาน ซึ่งอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 มีบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ทวนสอบซึ่งเป็นหน่วยงานทวนสอบประเภทนิติบุคคลที่อยู่ในระบบขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับการขอเครื่องหมายรับรองประเภทคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน)
โดยรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กรระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ปี 2564 ปี 2565 และปี 2566 อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 14064-1 มีรายละเอียดดังนี้
ขอบเขตการดำเนินงาน |
รายการแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี (tonCO2e) |
||
ปี 2564(ปีฐาน) |
ปี 2565 |
ปี 2566 |
||
ขอบเขตที่ 1 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร |
1.การเผาไหม้ของน้ำมัน Gasohol 95 ในรถยนต์ |
1.04 |
7.07 |
1.72 |
2.การรั่วไหลของสารทำความเย็น (R-410) |
– |
– |
– |
|
3.การรั่วไหลของสารทำความเย็น (R-32) |
– |
– |
– |
|
4.การรั่วไหลของมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กร |
7.97 |
7.48 |
8.35 |
|
รวมขอบเขตที่1 |
9.01 |
14.55 |
10.07 |
|
ตัวเลขที่นำไปคำนวณค่า Carbon Intensity |
10 |
15 |
11 |
|
ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน |
1.การใช้ไฟฟ้า |
86.11 |
111.68 |
129.19 |
รวมขอบเขตที่2 |
86.11 |
111.68 |
129.19 |
|
ตัวเลขที่นำไปคำนวณค่า Carbon Intensity |
87 |
112 |
130 |
|
ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ |
1. การเดินทางติดต่อของพนักงาน |
47.25 |
73.22 |
69.38 |
2.การได้มาของวัตถุดิบในองค์กร |
5.58 |
10.36 |
– |
|
3. การใช้พลังงานไฟฟ้าเชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้องกับองค์กร |
– |
23.01 |
25.76 |
|
รวมขอบเขตที่3 |
52.83 |
106.59 |
95.14 |
|
ตัวเลขที่นำไปคำนวณค่า Carbon Intensity |
53 |
107 |
96 |
|
อื่นๆ การปล่อย GHG โดยตรงที่ทำการรายงานแยก |
1.การรั่วไหลของสารทำความเย็นชนิด R-22 |
7.04 |
||
2. การเผาไหม้ของน้ำมัน Gasohol 95 |
0.12 |
ความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Intensity) |
ปริมาณ |
หน่วย |
||
2564(ปีฐาน)1 |
ปี 25651 |
ปี 2566 |
||
ขอบเขตที่ 1 |
10 |
15 |
11 |
Ton CO2e |
ขอบเขตที่ 2 |
87 |
112 |
130 |
Ton CO2e |
ขอบเขตที่ 3 |
53 |
107 |
96 |
Ton CO2e |
ผลรวมขอบเขตที่ 1+2 |
97 |
127 |
141 |
Ton CO2e |
ผลรวมขอบเขตที่ 1+2+3 |
150 |
234 |
237 |
Ton CO2e |
รายได้รวมประจำปี |
427.76 |
854.07 |
713.02 |
ล้านบาท |
Carbon Intensity (ขอบเขตที่ 1+2) |
0.2268 |
0.1487 |
0.1977 |
Ton CO2e / ล้านบาท |
%การเพิ่มขึ้น(ลดลง)จากปีฐาน |
(34.42%) |
(12.79%) |
||
Carbon Intensity (ขอบเขตที่ 1+2+3) |
0.3507 |
0.2740 |
0.3324 |
Ton CO2e / ล้านบาท |
%การเพิ่มขึ้น(ลดลง)จากปีฐาน |
(21.87%) |
(5.21%) |
หมายเหตุ ปรับการคำนวณและการปัดเศษในปีปี 2564 (ปีฐาน) และปี 2565 ให้เหมือนกับปี 2566 เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
จากการจัดทำรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของปี พ.ศ. 2566 เทียบกับการรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกของปีฐานปี พ.ศ. 2564 พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง(ขอบเขตที่1) ปี 2566 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีฐานเล็กน้อยคือ 1.06 Ton CO2e สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม(ขอบเขตที่2)จากการใช้ไฟฟ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้น 43.08 Ton CO2e ดังนั้นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ในปี พ.ศ.2566 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ.ศ.2564 ในภาพรวมขององค์กรเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเข้ามาใช้บริการของลูกค้าขององค์กรที่มากขึ้นทำให้มีการใช้น้ำมันรถยนต์และการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ การให้บริการรถรับส่งลูกค้า การได้มาของพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงที่ใช้ในองค์กร การจัดการของเสียจากกิจกรรมในองค์กร และการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้มีการเพิ่มแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากปีฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น รวมทั้งในปีที่รายงานมีการเลือกรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ เฉพาะตัวที่มีนัยสำคัญมากคือ การได้มาของพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงที่ใช้ในองค์กร และการเดินทางของพนักงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีพนักงานเพิ่มจากปีฐาน จึงทำให้ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ(ขอบเขตที่3) มีค่าสูงขึ้น เท่ากับ 42.30 Ton CO2e เมื่อเทียบกับปีฐานฯ ที่มีค่าการปล่อยอยู่ที่ 52.84 Ton CO2e
โดยในปี 2564(ปีฐาน) ปี 2565 และปี 2566 บริษัทมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปี เท่ากับ 147.95 Ton CO2e 232.82 Ton CO2e และ 235.33 Ton CO2e โดยการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากปีฐาน สอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ดีขึ้นในปี 2565 และปี 2566 ส่งผลให้บริษัทมีกิจกรรมมากขึ้น และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาร่วมกับความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี (Carbon Intensity) ซึ่งจะพิจารณาจากผลผลิตของบริษัท(รายได้รวม) และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่าในปี2565 และปี 2566 บริษัทมีความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี (Carbon Intensity) ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2564 แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดีของบริษัท ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจเป็นสถานพยาบาล การดำเนินธุรกิจของบริษัทจึงไม่ส่งผลกระทบมากนักเมื่อเทียบกับภาคโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี บริษัทได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จึงมีแนวทางลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีแนวทางนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้มากขึ้น โดยมีแผนที่จะติดแผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) บนอาคารโรงพยาบาลที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งจะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
ทั้งนี้ บริษัทเริ่มทำการเปิดเผยรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1 หรือมาตรฐาน อบก. หรือมาตรฐานสากลอื่นหรือเทียบเท่า รวมถึงดำเนินการให้มีการทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นประจำทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2564 และใช้ข้อมูลปี2564 เป็นข้อมูลปีฐานเพื่อกำหนดเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ ของบริษัททั้งนี้บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการลด Carbon Intensity 10%จากปีฐาน(ปี2564) ซึ่งในปี2565 บริษัทสามารถลดได้ในขอบเขตที่1+2 เท่ากับ 34.42% ขอบเขตที่1+2+3 เท่ากับ 12.79% ในปี2566 บริษัทสามารถลดได้ในขอบเขตที่1+2 เท่ากับ 21.87% ขอบเขตที่1+2+3 เท่ากับ 5.21% เมื่อรวมขอบเขต 3 แล้วลดได้น้อยลงเนื่องจากมีพนักงานเพิ่มขึ้นการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทางของพนักงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทได้สร้างความรู้ให้พนักงานเพื่อสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเรื่องการปล่อยก๊าชเรือนกระจก
ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทยึดถือนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
บริษัทปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ข้อกฎหมายในการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การฝึกอบรมและดูแลพนักงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน รวมทั้งการจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ สำหรับพนักงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสังคม เป็นต้น และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การตรวจสุขภาพประจำปี และการจัดให้มีเครื่องอุปโภค บริโภคในสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการจัดหลักสูตรเพื่ออบรมพนักงานทั้งจากภายในบริษัท และจากภายนอกบริษัท โดย แต่ละปีจะมีการกำหนดช่วงเวลาการอบรม งบประมาณ และผู้ที่ต้องรับการอบรม เพื่อให้พนักงานมีพัฒนาศักยภาพการทำงาน ความปลอดภัย ความรู้และความสามารถส่วนบุคคลของพนักงานเอง เช่น การจัดอบรมการกู้ชีพเบื้องต้น เพื่อทบทวนและความความรู้ให้แก่บุคลากรของบริษัทเพื่อสามารถนำไปใช้กู้ชีพช่วยเหลือผู้ป่วยโดยวิธี CPR ได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น
2. ลูกค้าบริษัทพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และมีจริยธรรม โดยในปี 2566 บริษัทได้รับผลตอบรับจากแบบสอบถามความพึงพอใจจากลูกค้า จำนวน 120 ราย โดยส่วนใหญ่ลูกค้ามีความพึงพอใจจำนวนมาก
3. กิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมบริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบบริษัท โดยในปี 2566 ไม่พบข้อร้องเรียนจากชุมชนในประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม รวมถึงบริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคม ดังนี้
1) บริษัทได้ส่งทีมแพทย์เข้าร่วมบรรยายในงานประชุมแพทย์นานาชาติ PAAFPRS (Pan Asia Academy of Facial Plastic and Reconstructive Surgery) ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประเทศสิงค์โปรเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับศัลยแพทย์ตกแต่งใบหน้าจากทั่วโลก 2) บริษัทได้จัดกิจกรรมแบ่งปันความสุข ณ วันที่ มีนาคม 2566 เนื่องในวันฉลองชัยชนะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครบรอบ 256 ปี โดยมีการแจกจ่ายอาหารแห้ง และเครื่องดื่ม จำนวน 257 ชุด ให้แก่ประชาชนโดยรอบเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาความสัมพันธ์อันดีของบริษัทกับชุมชน 3) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 บริษัทได้จัดกิจกรรมแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น โรงพยาบาลตากสิน สำนักงานเขตคลองสาน วัดพิชยญาติการาม เป็นต้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ 4) บริษัทได้จัดกิจกรรม ธีรพร ปันน้ำใจ เติมสุข เป็นโครงการเพื่อสังคมที่ธีรพรทำมาอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี เพื่อให้การดูแลและรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน ด้วยการบริจาคเครื่องอุปโภค บริโภคและสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับประชาชนผู้พักอาศัยในย่านคลองสาน โดยร่วมกับสำนักงานเขตคลองสาน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในโอกาสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง2 Charoen Nakhon Rd, Khlong San
Bangkok 10600
จันทร์ – อาทิตย์ | 12 pm – 12 am
© 2023 Teeraporn Clinic | All Rights Reserved
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า