ข้อมูลบริษัท

วิสัยทัศน์

สถาบันที่ให้บริการผ่าตัด ฟื้นฟู และ ดูแลใบหน้าอย่างครบวงจรเพื่อความสวยงามอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพในระดับสากล

พันธกิจ

ให้การดูแลและรักษาด้วยความเป็นมืออาชีพทั้งคนไทยและต่างชาติ ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดูแลและรักษาเพื่อต่อยอดด้านผลิตภัณฑ์ และ วิชาการรวมถึงการนำไปใช้บริการแก่สังคม รวมกับการพัฒนา Consumer product ที่สามารถจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆได้ในมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความงามบนใบหน้า

ค่านิยมขององค์กร

  • Client is Relatives : ความจริงใจคือวิธีการธีรพรใช้ในการเข้าถึงลูกค้าตั้งแต่เรื่องการให้คำปรึกษา การดูแลรักษา และ การติดตามหลังการเข้ารับการรักษา รวมทั้งเรื่องของการชี้แจงข้อเท็จจริงก่อนทำการรักษา การรับประกันหลังการเข้ารับการรักษา การดูแลหลังผ่าตัดให้เหมือนญาติ รวมถึงการทำการผ่าตัดแก้ไขความเจ็บป่วยที่เป็นการให้บริการสังคม
  • Professionalism is key : แพทย์ พยาบาล และ เจ้าหน้าที่ทุกท่าน มีความเป็นมืออาชีพ มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญชำนาญพิเศษในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความงามบนใบหน้า โดยสามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานอย่างถูกต้อง ด้วยความจริงจัง มุ่งมั่น ตั้งใจให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด ทั้งการบริการด้านการแพทย์ ด้านการรักษาและ การบริการด้านวิชาการ
  • Innovation : มุ่งเน้นการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดที่เป็นนวัตกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้นของธีรพร ท่านนพ.ชลธิศได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดที่เป็นนวัตกรรมมาตลอด ทั้งเรื่อง Face-Lock และ การทำตาสองชั้น และยังคงมีการพัฒนาเรื่อยมาเพื่อให้ผลลัพธ์ของการรักษาที่ดีที่สุดภายใต้ความพึงพอใจของลูกค้าที่เข้ารับบริการ ซึ่งยังคงจะเป็นความมุ่งมั่น ที่ใช้ต่อไปเพื่อการเติบโตของธีรพรอย่างยั่งยืน นอกจากเทคนิคการผ่าตัดแล้วยังคงมุ่งเน้นการพัฒนา Innovation ด้าน Medical Technology ทั้งทางด้านการป้องกัน การดูแล และการรักษาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของธีรพรคลินิก
  • Staff is Family : การสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับองค์กร จะช่วยให้พนักงานได้รับการดูแลที่ดี ภายใต้การทำงานที่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้าของธีรพรคลินิก ได้รับการดูแลที่ดีที่สุด ซึ่งในการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนจะทำได้จำเป็นต้องมีทีมงานที่เข้มแข็งและผูกพันกับองค์กร

ยังไม่มีข้อมูลในขณะนี้

รายนามคณะกรรมการบริษัท
รายนาม ตำแหน่ง
1 ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อภิชาติ ศิวยาธร ประธานกรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ
2 นายสมบูรณ์ วงศ์รัศมี กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ
3 นายเกริกชัย ชัยธรรม กรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชลธิศ สินรัชตานันท์ กรรมการบริษัท
5 นายแพทย์ชัยยศ เด่นอริยะกูล กรรมการบริษัท
6 นายแพทย์พลพงศ์ ชยางศุ กรรมการบริษัท
7 นาวาโทหญิงแพทย์หญิงสุวรรณี จิรยั่งยืน ร.น. กรรมการบริษัท
8 นายจักรชลัช สินรัชตานันท์ กรรมการบริษัท
9 นายแพทย์คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล กรรมการบริษัท

รายนามคณะกรรมการบริหาร

 รายนามตำแหน่ง
1ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ชลธิศ สินรัชตานันท์ประธานคณะกรรมการบริหาร
2นายแพทย์ชัยยศ เด่นอริยะกูลกรรมการบริหาร
3นายแพทย์พลพงศ์ ชยางศุกรรมการบริหาร
4นาวาโทหญิงแพทย์หญิงสุวรรณี จิรยั่งยืน ร.น.กรรมการบริหาร
5นายแพทย์คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผลกรรมการบริหาร
6นางดารณี ทับแก่นกรรมการบริหาร
7นายจักรชลัช สินรัชตานันท์กรรมการบริหาร

ข้อมูลบริษัท 15

ผู้ถือหุ้น 10 รายแรก ณ วันที่ 12 มี.ค. 2567

ลำดับที่ ชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัทสานฝันโฮลดิ้ง จำกัด 118,800,000 33.94%
2 น.ท.หญิง สุวรรณี จิรยั่งยืน ร.น. 80,000,000 22.86%
3 นาย ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา 12,066,600 3.45%
4 นายกฤตภาส จิรยั่งยืน 11,704,800 3.34%
5 นายศุภกร จิรยั่งยืน 8,015,000 2.29%
6 นาย พะเนียง พงษธา 6,604,200 1.89%
7 นาย ทวีรัช ปรุงพัฒนสกุล 4,300,000 1.23%
8 นาย สถาพร งามเรืองพงศ์ 4,200,000 1.20%
9 น.ส. ศริญญา อุราธรรมกุล 3,794,000 1.08%
10 นาย สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ 3,500,000 1.00%

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บริษัทมหาชน) ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติอนุมัตินโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนแก่ธุรกิจ ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคง นอกจากนี้บริษัทยังมุ่นมั่นที่จะดำเนินงานบนพื้นฐานของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทั้งต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและสร้างประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับ ซึ่งความตั้งใจดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานมุ่งสู้ความยั่งยืนในระดับบริษัท โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ยึดมั่นในการประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ให้ความสำคัญและความเคารพสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า และแรงงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ให้ความสำคัญต่อสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมให้พนักงานดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนลังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. มุ่งเน้นให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างทุกระดับ มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม และปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาความยั่งยืน จนเป็นวัฒนธรรมดำเนินงานที่คำนึงถึงประโยชน์ที่สมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  3. สร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ที่จะสร้างความมั่นใจว่าบริษัทจะพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงส่งเสริมการดำเนินงานที่รับผิดชอบตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ทุกระดับและทุกคน มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริม และปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติขงการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร จนเป็นวัฒนธรรมที่คำนึงถึงความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์และเป้าหมายด้านความยั่งยืน

บริษัทมีนโยบายในการปลูกฝังทัศนคติและสร้างวัฒนกรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน จนถือเสมือนเป็นภารกิจหลักที่จะสร้างสรรค์โครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและชุมชน จึงได้กำหนดให้มีนโยบายด้านความยั่งยืน เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance: ESG) พร้อมๆ กับการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศและสังคม

คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้กำกับดูแลให้ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมีแนวทางกำกับดูแลดังต่อไปนี้

  1. คณะกรรมการจะกำกับดูแลให้การจัดทำกลยุทธ์และแผนงานประจำปีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัทโดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมด้านสังคมที่ครอบคลุมการเคารพสิทธิมนุษยชนและด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างรอบด้านและจะสนับสนุนให้มีการติดตามและทบทวนการดำเนินการตามกลยุทธ์และเป้าหมายที่ได้วางไว้ทั้งในระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวเพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์และแผนงานของบริษัทฯบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้
  2. คณะกรรมการจะดูแลให้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Value Chain) ในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงานประจำปี รวมทั้งพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหลักของบริษัทอย่างรอบด้าน โดยมีกลไกที่ทำให้เข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง
  3. คณะกรรมการจะกำกับดูแลให้มีการควบคุมการดำเนินกิจการของบริษัทอย่างเหมาะสม รวมทั้งถ่ายทอดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท ผ่านกลยุทธ์และแผนงานการดำเนินการให้พนักงานทั้งองค์กรของบริษัทรับทราบและนำไปปฏิบัติ

2.1 ห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ

กิจกรรมหลัก (Primary Activities)

กิจกรรมหลักประกอบด้วย 5 กิจกรรมตามแผนภาพด้านล่าง ซึ่งเชื่อมโยงกันตามภาพรวมการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทมีแนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจทั้ง 5 กิจกรรม ดังนี้

ข้อมูลบริษัท 16

1. การจัดซื้อจัดหาจัดจ้าง

  • คัดเลือกและจัดหาสินค้าและบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ให้บริการ ที่มีคุณภาพสูงหลายราย เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ผลิตเพียงรายเดียว และเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน
  • จัดหาเวชภัณฑ์ และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ทันสมัย และเพียงพอต่อความต้องการของผู้เข้ารับบริการ
  • จัดจ้างบุคลากรที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ ในการให้บริการ

2. การให้บริการหัตถการ 

  • มุ่งมั่นในการให้บริการด้วยระบบการให้บริการที่ทันสมัย โดยมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งฝุ่น เสียง และกลิ่น ให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและ
    ชีวอนามัย รวมทั้งให้ความเป็นธรรมกับพนักงานและคู่ค้าทุกราย
  • การให้คำปรึกษาตรวจและประเมินเพื่อวางแผนการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีการจัดการสารเคมี ของเสีย และขยะติดเชื้ออย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

3. การส่งมอบผลงาน

  • มีการตรวจการให้บริการหัตถการก่อนส่งมอบ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้เข้ารับบริการ

4. การตลาดและการขาย

  • มีการกำหนดค่าบริการอยู่ในระดับที่เหมาะสม คุ้มค่า และสามารถแข่งขันได้
  • มีการศึกษาภาวะตลาด เพื่อได้ทราบถึงความต้องการของผู้รับบริการ
  • ศึกษาเพื่อหาช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

5. การบริการหลังการขาย

  • มีการติดตามและดูแลผลการรักษาและการให้บริการอย่างใกล้ชิดมีประสิทธิภาพและให้บริการอย่างจริงใจรวมถึงมีการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
  • มีการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า เพื่อนำมาพิจารณาแก้ไข พัฒนา ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)

สำหรับกิจกรรมสนับสนุนของบริษัท ประกอบด้วยกิจกรรม 4 กิจกรรม ได้แก่

  1. การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management)

ถือได้ว่าในธุรกิจของบริษัท ทรัพยากรบุคคล เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกรรมต่างๆ ของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงได้ให้ความสำคัญตั้งแต่การจัดจ้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ การบริหารค่าตอบแทนที่สามารถแข่งขัน สามารถจูงใจพนักงานได้ การส่งเสริมให้พนักงานได้รับการอบรมพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งให้โอกาสในการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพ การดูแลเอาใจใส่ และการสร้างขวัญกำลังใจ เป็นอย่างดี เพื่อให้พนักงานเกิดความรัก ความผูกพันกับบริษัท และทุ่มเทสร้างสรรค์พัฒนา การให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

    2. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการ

บริษัทมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้มีนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับการสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    3. การจัดซื้อจัดจ้าง

บริษัทยึดหลักในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงจริยธรรมทางการค้า ความโปร่งใส เป็นธรรมต่อคู่ค้า รวมถึงรักษาและสืบสานความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า และปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการค้าที่มีต่อคู่ค้า โดยบริษัทได้จัดให้มีคำสั่งว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องมีการวางแผนกิจกรรมการจัดซื้อ โดยจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณประจำปีนำเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท และเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว หน่วยงานที่ขอจัดซื้อจัดจ้างต้องจัดทำใบขอซื้อที่สอดคล้องกับแผนงานและงบประมาณนำเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามวงเงินอนุมัติที่กำหนด จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง อีกทั้งบริษัทจะไม่ทำธุรกรรมใด ๆ กับคู่ค้าที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นอกจากนี้ บริษัทยังประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี ไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อทำลายคู่ค้าหรือคู่แข่ง

    4. โครงสร้างพื้นฐาน

บริษัทได้ดูแล พัฒนา ปรับปรุงระบบงานสำคัญ ๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบการประเมินทางการแพทย์ ระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ระบบข้อมูลในการบริหาร ระบบบริหารความเสี่ยง ระบบข้อมูลของลูกค้า ระบบบัญชีและการเงิน ระบบข้อมูลการบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบการสื่อสารทั้งภายในบริษัท และกับผู้รับบริการ เป็นต้น

2.2 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

บริษัทได้มีการพิจารณาวิเคราะห์และประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียใน (Value Chain) อย่างรอบด้านเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรซึ่งมีความสัมพันธ์กับห่วงโซ่อุปทาน โดยสรุปได้ดังนี้

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย

ช่องทางการมีส่วนร่วม

ความคาดหวังของ

ผู้มีส่วนได้เสีย

การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร

ผู้ถือหุ้น /

นักลงทุน / นักวิเคราะห์

การจัดประชุมผู้ถือหุ้น

การนำเสนอผลการดำเนินงานรายไตรมาส

การประชุมนักวิเคราะห์การเงิน

กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน

การเชิญนักลงทุนเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการ

ผลตอบแทนที่ดี

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

กิจการมีความมั่นคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลที่ได้รับถูกต้อง ครบถ้วน ทันเหตุการณ์ โปร่งใส

มีระบบการบริหารความเสี่ยง

มีระบบตรวจสอบและควบคุมที่ดี

กำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้

จ่ายเงินปันผลอย่างเหมาะสม

เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส

จัดทำแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ

บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ

พนักงาน

สื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางการสื่อสาร และมีความถี่ตามความเหมาะสม

การประเมินความพึงพอใจของพนักงาน

การรับฟังความคิดและข้อเสนอ แนะผ่านช่องทางต่างๆ

ผลตอบแทนที่ดี มีโอกาสที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงาน รวมถึงความมั่นคงของบริษัท

สภาพแวดล้อมและพื้นที่เหมาะสมต่อการทำงาน

มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน

มีสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

การอบรมและส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาทักษะและความรู้อย่างต่อเนื่อง

การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและพนักงาน

การกำหนดนโยบายและแผนงานด้านการพัฒนาบุคลากร

กําหนดแนวทาง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการปฏิบัติงาน

ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร

ลูกค้า/

ผู้รับบริการ

การเข้าพบลูกค้า

ประสานงานกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน

การแจ้งค่าบริการล่วงหน้าอย่างครบถ้วน ก่อนการทำหัตถการ

การสำรวจความพึงพอใจลูกค้า

การทำกิจกรรมร่วมกับลูกค้า

ได้รับข้อมูลของการบริการอย่างถูกต้อง

ค่าบริการมีความเหมาะสม

การแข่งขันของราคามีความโปร่งใส

ได้รับบริการที่มีคุณภาพ

สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว

รักษาความลับของข้อมูลลูกค้า

กำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้

มีนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น

มีจรรยาบรรณในการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้า

พัฒนาการให้บริการให้มีคุณภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า

การกวดขันเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลลูกค้า

คู่ค้า

การทำสัญญาการซื้อขายสินค้าและบริการที่ชัดเจน

การประเมินความพึงพอใจของคู่ค้า

การทำกิจกรรมร่วมกับคู่ค้า

การปฏิบัติตามสัญญาและข้อตกลงร่วมกัน

ดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเท่าเทียม

รักษาความลับของข้อมูลคู่ค้า

เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง

การกวดขันเรื่องการรักษาความลับของข้อมูลคู่ค้า

สังคมและชุมชนการรับฟังความคิด และข้อเสนอแนะผ่านช่องทางต่างๆ ของบริษัท

ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อสังคมชุมชนโดยรอบ

มีความปลอดภัยในการให้บริการตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด

ร่วมพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ และรายได้ เพื่อสร้างความมั่นคงสำหรับคนในชุมชนโดยรอบ

ปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในการทำงาน

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรต่าง และลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3.1.นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทยึดถือนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • บริษัทส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับในองค์กรใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและเพียงพอและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงสื่อสารให้ความรู้ สนับสนุนและสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการบริหารการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร รวมถึงการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
  • บริษัทมุ่งมั่นปฏิบัติ ควบคุม ปกป้อง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของบริษัท
  • บริษัทมุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งขยายผลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของบริษัท
  • บริษัทสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ เป็นตัน เพื่อช่วยกระตุ้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน สังคมและชุมชน รวมถึงการอนุรักษ์ ป้องกัน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยอาจร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น ๆ
  • บริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ข้างตันเป็นประจำและต่อเนื่อง

3.2.ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกอันเกิดจากการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นในการร่วมแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยบริษัทให้คำมั่นว่าจะดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงจะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด โดย ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการบริษัทได้มีการอนุมัติใช้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เรื่อง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) เพื่อประโยชน์ร่วมกันของพนักงานทุกระดับในองค์กรรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้บริษัทได้มีการกำหนดเป้าหมายลดค่า Carbon Intensity ลง 10% จากปีฐาน

ในปี 2564 บริษัทมีการจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเป็นครั้งแรกเพื่อใช้สำหรับเป็นข้อมูลปีฐาน ซึ่งอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 มีบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ทวนสอบซึ่งเป็นหน่วยงานทวนสอบประเภทนิติบุคคลที่อยู่ในระบบขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับการขอเครื่องหมายรับรองประเภทคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์กรมหาชน)

โดยรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กรระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ปี 2564 ปี 2565 และปี 2566 อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 14064-1 มีรายละเอียดดังนี้

ขอบเขตการดำเนินงาน

รายการแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปี (tonCO2e)

2564(ปีฐาน)

2565

2566

ขอบเขตที่ 1

การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร

1.   การเผาไหม้ของน้ำมัน Gasohol 95 ในรถยนต์

1.04

7.07

1.72

  1. การรั่วไหลของสารทำความเย็น (R-410)

  1. การรั่วไหลของสารทำความเย็น (R-32)

  1. การรั่วไหลของมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กร

7.97

7.48

8.35

 

รวมขอบเขตที่1

9.01

14.55

10.07

 

ตัวเลขที่นำไปคำนวณค่า Carbon Intensity

10

15

11

ขอบเขตที่ 2

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน

1.   การใช้ไฟฟ้า

86.11

111.68

129.19

      รวมขอบเขตที่2

86.11

111.68

129.19

ตัวเลขที่นำไปคำนวณค่า Carbon Intensity

87

112

130

ขอบเขตที่ 3

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ

  1. การเดินทางติดต่อของพนักงาน

47.25

73.22

69.38

  1. การได้มาของวัตถุดิบในองค์กร

5.58

10.36

  1. การใช้พลังงานไฟฟ้า/เชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้องกับองค์กร

23.01

25.76

 

รวมขอบเขตที่3

52.83

106.59

95.14

 

ตัวเลขที่นำไปคำนวณค่า Carbon Intensity

53

107

96

อื่นๆ

การปล่อย GHG โดยตรงที่ทำการรายงานแยก

              1. การรั่วไหลของสารทำความเย็นชนิด R-22
  

7.04

  1. การเผาไหม้ของน้ำมัน Gasohol 95
  

0.12

ความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

(Carbon Intensity)

ปริมาณ

หน่วย

2564(ปีฐาน)1

25651

2566

ขอบเขตที่ 1

10

15

11

Ton CO2e

ขอบเขตที่ 2

87

112

130

Ton CO2e

ขอบเขตที่ 3

53

107

96

Ton CO2e

ผลรวมขอบเขตที่ 1+2

97

127

141

Ton CO2e

ผลรวมขอบเขตที่ 1+2+3

150

234

237

Ton CO2e

รายได้รวมประจำปี

427.76

854.07

713.02

ล้านบาท

Carbon Intensity (ขอบเขตที่ 1+2)

0.2268

0.1487

0.1977

Ton CO2e / ล้านบาท

%การเพิ่มขึ้น(ลดลง)จากปีฐาน

 

(34.42%)

(12.79%)

 

Carbon Intensity (ขอบเขตที่ 1+2+3)

0.3507

0.2740

0.3324

Ton CO2e / ล้านบาท

%การเพิ่มขึ้น(ลดลง)จากปีฐาน

 

(21.87%)

(5.21%)

 

หมายเหตุ ปรับการคำนวณและการปัดเศษในปี 2564 (ปีฐาน) และปี 2565 ให้เหมือนกับปี 2566 เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ

จากการจัดทำรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกของปี พ.. 2566 เทียบกับการรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกของปีฐานปี พ.. 2564 พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง(ขอบเขตที่1) ปี 2566 มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีฐานเล็กน้อยคือ 1.06 Ton CO2e  สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม(ขอบเขตที่2)จากการใช้ไฟฟ้ามีปริมาณเพิ่มขึ้น 43.08 Ton CO2e ดังนั้นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ในปี พ..2566 เมื่อเทียบกับปีฐาน พ..2564 ในภาพรวมขององค์กรเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการเข้ามาใช้บริการของลูกค้าขององค์กรที่มากขึ้นทำให้มีการใช้น้ำมันรถยนต์และการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ได้แก่ การให้บริการรถรับส่งลูกค้า การได้มาของพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงที่ใช้ในองค์กร การจัดการของเสียจากกิจกรรมในองค์กร และการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้มีการเพิ่มแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากปีฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น รวมทั้งในปีที่รายงานมีการเลือกรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ เฉพาะตัวที่มีนัยสำคัญมากคือ การได้มาของพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงที่ใช้ในองค์กร และการเดินทางของพนักงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีพนักงานเพิ่มจากปีฐาน จึงทำให้ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ(ขอบเขตที่3) มีค่าสูงขึ้น เท่ากับ 42.30 Ton CO2e เมื่อเทียบกับปีฐานฯ ที่มีค่าการปล่อยอยู่ที่  52.84 Ton CO2e    

โดยในปี 2564(ปีฐาน) ปี 2565 และปี 2566 บริษัทมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประจำปี เท่ากับ 147.95 Ton CO2e 232.82 Ton CO2e และ 235.33 Ton CO2e โดยการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากปีฐาน สอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ดีขึ้นในปี 2565 และปี 2566 ส่งผลให้บริษัทมีกิจกรรมมากขึ้น และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาร่วมกับความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี (Carbon Intensity) ซึ่งจะพิจารณาจากผลผลิตของบริษัท(รายได้รวม) และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่าในปี2565 และปี 2566 บริษัทมีความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี (Carbon Intensity) ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2564 แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดีของบริษัท ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจเป็นสถานพยาบาล การดำเนินธุรกิจของบริษัทจึงไม่ส่งผลกระทบมากนักเมื่อเทียบกับภาคโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี บริษัทได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จึงมีแนวทางลดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีแนวทางนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้มากขึ้น โดยมีแผนที่จะติดแผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) บนอาคารโรงพยาบาลที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งจะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

ทั้งนี้ บริษัทเริ่มทำการเปิดเผยรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO 14064-1 หรือมาตรฐาน อบก. หรือมาตรฐานสากลอื่นหรือเทียบเท่า รวมถึงดำเนินการให้มีการทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นประจำทุกปีเริ่มตั้งแต่ปี 2564 และใช้ข้อมูลปี2564 เป็นข้อมูลปีฐานเพื่อกำหนดเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ ของบริษัททั้งนี้บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการลด Carbon Intensity 10%จากปีฐาน(ปี2564) ซึ่งในปี2565 บริษัทสามารถลดได้ในขอบเขตที่1+2 เท่ากับ 34.42% ขอบเขตที่1+2+3 เท่ากับ 12.79%   ในปี2566 บริษัทสามารถลดได้ในขอบเขตที่1+2 เท่ากับ 21.87% ขอบเขตที่1+2+3 เท่ากับ 5.21% เมื่อรวมขอบเขต 3 แล้วลดได้น้อยลงเนื่องจากมีพนักงานเพิ่มขึ้นการใช้น้ำมันสำหรับการเดินทางของพนักงานเพิ่มขึ้น   นอกจากนี้บริษัทได้สร้างความรู้ให้พนักงานเพื่อสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเรื่องการปล่อยก๊าชเรือนกระจก

4.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทยึดถือนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • บริษัทดำเนินธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ภายใต้หลักพื้นฐานทางจริยธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาเป็นแนวทางเพื่อรักษาดุลยภาพของการดำเนินงานทั้งทางต้านเศรษฐกิจ ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
  • บริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและตอบแทนคืนสู่สังคมอย่างแท้จริง โดยสนับสนุนกิจกรรมช่วยเหลือสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ส่งเสริมการดำเนินงานด้านจิตอาสาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง และปลูกจิตสำนึกด้านความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานทุกระดับ
  • บริษัทจะปฏิบัติต่อพนักงานและแรงงานอย่างเป็นธรรม ให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสม รวมถึงจัดให้มีประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน และการจัดให้มีสวัสดิการพนักงานในระดับต่าง ๆ ครอบคลุมประกันสุขภาพ การคุ้มครองและประกันภัย อีกทั้งบริษัทยังส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร โดยจัดให้มีการจัดอบรม สัมมนา ฝึกอบรม รวมถึงส่งบุคลากรเข้าร่วมสัมมนา และฝึกอบรมวิชาการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถศักยภาพของบุคลากร รวมถึงปลูกฝังทัศนคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และการทำงานเป็นทีมแก่บุคลากร รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้องในบริษัทรวมถึงให้การคุ้มครองพนักงานที่รายงานเรื่องดังกล่าว เสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่คำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และ อาชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน รวมถึงพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ เติบโตในสายอาชีพได้อย่างยั่งยืน
  • บริษัทมีนโยบายสนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ชุมชน และสังคมรอบข้างด้วยความเคารพในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คำนึงถึงความเสมอภาคและเสรีภาพที่เท่าเทียมกันไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน และไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว เพศ อายุ การศึกษา สภาวะทางร่างกาย หรือสถานะทางสังคม รวมถึงจัดให้มีการดูแลไม่ให้ธุรกิจของบริษัทเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น การใช้แรงงานเด็ก และการคุกคามทางเพศ เป็นตัน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีการเฝ้าระวังการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน โดยจัดให้มีการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และช่องทางในการร้องเรียนสำหรับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทและดำเนินการเยียวยาตามสมควร
  • บริษัทจะปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความเข้าใจ รวมถึงรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเพื่อแก้ไขปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทเพื่อความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุดของลูกค้าและยึดมั่นในการปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ลูกค้า
  • บริษัทคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกค้า และมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยตามมาตรฐานและกฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัยในระดับสากล และตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงออกแบบ สร้างสรรค์ และพัฒนาสินค้าและบริการอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าและบริการของบริษัท
  • บริษัทจัดให้มีระบบลูกค้าสัมพันธ์เพื่อใช้ในการสื่อสารติดต่อกับลูกค้า รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทและบริเวณพื้นที่ให้บริการเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • บริษัทจะรักษาข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นความลับ และจะไม่ใช้ข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในทางที่มิชอบ
  • บริษัทจะปฏิบัติต่อชุมชนและสังคมด้วยความจริงใจ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนด้านการศึกษา วัฒนธรรมชุมชน และสุขภาพที่ดีภายในชุมชน สร้างชุมชนและสังคมโดยรอบให้ปลอดภัยและน่าอยู่ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องสร้างความเข้าใจ และรับฟังปัญหา พร้อมให้ความร่วมมือ
4.2 ผลการดำเนินงานด้านสังคม
     1. พนักงานและแรงงาน

บริษัทปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ข้อกฎหมายในการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การฝึกอบรมและดูแลพนักงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน รวมทั้งการจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ สำหรับพนักงานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันสังคม เป็นต้น และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การตรวจสุขภาพประจำปี และการจัดให้มีเครื่องอุปโภค บริโภคในสถานที่ปฏิบัติงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการจัดหลักสูตรเพื่ออบรมพนักงานทั้งจากภายในบริษัท และจากภายนอกบริษัท โดย แต่ละปีจะมีการกำหนดช่วงเวลาการอบรม งบประมาณ และผู้ที่ต้องรับการอบรม เพื่อให้พนักงานมีพัฒนาศักยภาพการทำงาน ความปลอดภัย ความรู้และความสามารถส่วนบุคคลของพนักงานเอง เช่น การจัดอบรมการกู้ชีพเบื้องต้น เพื่อทบทวนและความความรู้ให้แก่บุคลากรของบริษัทเพื่อสามารถนำไปใช้กู้ชีพช่วยเหลือผู้ป่วยโดยวิธี CPR  ได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น

    2. ลูกค้า

บริษัทพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และมีจริยธรรม โดยในปี 2566 บริษัทได้รับผลตอบรับจากแบบสอบถามความพึงพอใจจากลูกค้า จำนวน 120 ราย โดยส่วนใหญ่ลูกค้ามีความพึงพอใจจำนวนมาก

    3. กิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคม

บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบบริษัท โดยในปี 2566 ไม่พบข้อร้องเรียนจากชุมชนในประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม รวมถึงบริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคม ดังนี้

1) บริษัทได้ส่งทีมแพทย์เข้าร่วมบรรยายในงานประชุมแพทย์นานาชาติ PAAFPRS (Pan Asia Academy of Facial Plastic and Reconstructive Surgery) ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 18 – 24 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประเทศสิงค์โปร เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับศัลยแพทย์ตกแต่งใบหน้าจากทั่วโลก

ข้อมูลบริษัท 17   

2) บริษัทได้จัดกิจกรรมแบ่งปันความสุข ณ วันที่ 9 มีนาคม 2566 เนื่องในวันฉลองชัยชนะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครบรอบ 256 ปี โดยมีการแจกจ่ายอาหารแห้ง และเครื่องดื่ม จำนวน 257 ชุด ให้แก่ประชาชนโดยรอบเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาความสัมพันธ์อันดีของบริษัทกับชุมชน ข้อมูลบริษัท 18 3)ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 บริษัทได้จัดกิจกรรมแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น โรงพยาบาลตากสิน สำนักงานเขตคลองสาน วัดพิชยญาติการาม เป็นต้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบ

   ข้อมูลบริษัท 19

ข้อมูลบริษัท 20 4) บริษัทได้จัดกิจกรรม ธีรพร ปันน้ำใจ เติมสุข เป็นโครงการเพื่อสังคมที่ธีรพรทำมาอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี เพื่อให้การดูแลและรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน ด้วยการบริจาคเครื่องอุปโภค บริโภคและสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตให้กับประชาชนผู้พักอาศัยในย่านคลองสาน โดยร่วมกับสำนักงานเขตคลองสาน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในโอกาสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลบริษัท 21      

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
ธีรพร-คลินิก-homepage

ផ្ដល់ការប្រឹក្សាពីសាស្ត្រាចារ្យពេទ្យជំនាញឯកទេស ឥតគិតថ្លៃ

Brand

ร้องเรียน